หัวข้อที่ผ่านมา





หัวข้อที่ผ่านมา

2014 – FUTURE TECHNOLOGIES

 เทคโนโลยีแห่งอนาคต

     ในปี 2557นี้ เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ต้องการมุ่งไปสู่อนาคตด้วยการนำเสนอเทคโนโลยีที่จะกำหนดทิศทางโลกของเราในอนาคต การค้นพบทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางเทคโนโลยีกำลังพัฒนารุดหน้าด้วยความเร็วอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน สื่อต้องเพิ่มคำศัพท์ใหม่ๆเพื่อตามโลกของวิทยาศาสตร์ให้ทัน อาทิ เทคโนโลยีชีวภาพ, นาโนเทค, ชีวสังเคราะห์, กราฟีน, เชื้อเพลิงสาหร่าย, ควอนตัมคอมพิวเตอร์ และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเคยเป็นเพียงศัพท์ที่ใช้กันในวงการของนักวิจัยแต่กลับกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และโลกของเราในปัจจุบัน

     ในช่วงเวลาที่โลกพัฒนาก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว เป็นเรื่องท้าทายอย่างมากที่เราจะตามความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ทัน ความก้าวหน้านี้มีความหมายอย่างไรต่อชีวิตของเรา จะพาพวกเราไปที่ไหน และจะส่งผลอะไรในทางลบกับชีวิตของเราหรือไม่ เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้ากับโลกของเราในระยะเวลาอีกสิบปีข้างหน้าและต่อๆไป เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มีความตั้งใจในการพาทุกท่านไปสำรวจความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในสาขาที่หลากหลายของวิชาวิทยาศาสตร์ผ่านสื่อภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์จากทั่วทุกมุมโลก ร่วมด้วยกิจกรรมต่างๆมากมายที่จะเกิดขึ้นในเทศกาลฯทั่วโลก


2013 – Energy and Sustainability

 พลังงานและการพัฒนาที่ยั่งยืน

     ปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่ผู้จัดเทศกาลฯได้ต่อยอดเรื่องราวด้านสิ่งแวดล้อมอีกครั้งในหัวข้อ พลังงานและการพัฒนาที่ยั่งยืน เราต่างรอคอยเพื่อที่จะรับรู้ร่วมกันว่าจะมีวิธีการนำเสนอด้วยข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านสื่อภาพยนตร์อย่างไรในเรื่องที่จะช่วยปกป้องทรัพยากรและผลประโยชน์ที่เราทุกคนจะได้รับจากพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบันสู่ อนาคตได้ และทำไมยุคแห่งอารยะนี้เราต่างกำลังเผชิญอยู่กับความท้าทายในเรื่องนี้อย่างยิ่งยวดมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของศตวรรษนี้ พลังงานชนิดใดบ้างที่เราต้องการจะนำมาใช้ในอนาคตและมีเรื่องราวที่ท้าทายใด บ้างกำลังรอให้เราเผชิญและแก้ไขอยู่ในอีกรอบทศวรรษที่กำลังจะมาถึง สิ่งเหล่านี้คือคำถามพื้นฐานที่เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ของเราจะพาทุกท่าน ไปหาคำตอบร่วมกัน ความคิดในเรื่องของการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนเพื่อตอบสนองความต้องการของเรา นั้นยังมีอยู่จำกัดและบางครั้งก็ถูกเพิกเฉยทั้งในด้านการผลิตและการบริโภค สิ่งที่เราเลือกที่จะทำในวันนี้นั้นจะส่งผลกระทบต่อคนในรุ่นต่อไปอย่างหลีก เลี่ยงไม่ได้

     ทั้งค่าใช้จ่ายและพลังงานที่มีอยู่ขณะนี้ต่างส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเรา การผลิตในภาคเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความสมดุลของธรรมชาติ เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์จะพาท่านร่วมกัน อภิปราย กระตุ้นส่งเสริม และนำเรื่องราวที่สำคัญนี้ไปสู่ประชากรรุ่นต่อไปเพื่อสร้างแรงบันดาลใจและให้ข้อมูลด้านพลังงานและการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยผ่านสื่อภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่มีผู้สนใจส่งภาพยนตร์เข้าร่วมประกวดในเทศกาลฯจากทั่วทุกมุมโลก 


 2012 – Water

     ในปี พ.ศ. 2555 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ขยายตัวไปสู่ประเทศพม่าและประเทศลาวซึ่งรวมทั้งหมดเป็นแปดประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ธีมของการจัดงานในปีนี้คือ “น้ำ” มีผู้เข้าชมทั้งหมดทั่วประเทศร่วมจัดถึง 370,000 คน เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ของเรายังครองตำแหน่งเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลก 


 2011 – Forests

     ในปี พ.ศ. 2554 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้ขยายไปถึงประเทศเวียดนามและมาเลเซีย ธีมของการจัดงานในปีนี้คือ “ป่า” มีผู้เข้าชมทั้งหมดในประเทศที่เข้าร่วมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึง 240,000 คน 


 2010 – Biodiversity

     ในปี พ.ศ. 2553 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์มีความประสงค์ที่จะขยายตัวไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เทศกาลฯเริ่มมุ่งเน้นหัวข้อการจัดงานไปในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ธีมของการจัดงานในปีนี้คือ “ความหลากหลายทางชีวภาพ” โดยมีผู้เข้าชมทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 130,000 คน ประกอบด้วยผู้เข้าชมจำนวน 88,000 คนในประเทศไทย 12,500 คน ในประเทศอินโดนีเซีย 9,500 คน ในประเทศกัมพูชาและ 20,000คน ในประเทศฟิลิปปินส์ 


 2009 – Astronomy

     ในปี พ.ศ. 2552 เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้เริ่มขยายไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน คือกัมพูชา และเพื่อระลึกถึงการครบรอบ 400 ปีของกล้องโทรทรรศน์เช่นเดียวกับการฉลองความสัมพันธ์ไทย-ยุโรป ทำให้ธีมของการจัดงานในปีนี้คือ “ดาราศาสตร์และอวกาศ” ในปีแรกของการจัดงานเทศกาลฯในประเทศกัมพูชาได้มีผู้เข้าชมถึง 5,500 คน และประเทศไทยก็มีจำนวนผู้ชมที่เพิ่มมากขึ้นถึง 112,000 คน 


 2008 – Edutainment

     ในปี พ.ศ. 2551 งานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ขยายโอกาสไปสู่ 20 จังหวัดในประเทศไทยและมีผู้เข้าชมถึง 88,000 คน รูปแบบงานในปีนี้นำเสนอเรื่องในวงกว้างทางวิทยาศาสตร์ ธีมของงานเทศกาลฯในปีนี้คือ “วิทยาศาสตร์ สาระบันเทิง” และเทศกาลฯได้ปรับกลยุทธ์มุ่งไปที่กลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจในงานเทศกาลซึ่งพบว่าส่วนมากจะเป็นนักเรียนและนักศึกษา 


  2007 – Bionics

     ในปี พ.ศ. 2550 เริ่มจัดเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์สัญจรโดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในการสัญจรจัดงานในห้าจังหวัด ธีมของงานเทศกาลฯในปีนี้คือ “ไบโอนิก – เอฟเฟกของดอกบัว ” มีผู้เข้าชมเทศกาลฯถึง 44,000 คน ทำให้เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์นี้กลายเป็นเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในแง่ของจำนวนผู้เข้าชมเทศกาลฯ 


 2006 – Nanotechnology

     ในปี พ.ศ. 2549 ธีมของงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์คือ “คาร์บอน 60 และนาโนเทคโนโลยี” เพื่อแสดงความเป็นเกียรติเนื่องในวโรกาส ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 พรรษา เทศกาลฯนี้ได้จัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีศูนย์จัดฉายเข้าร่วม อาทิ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติประเทศไทย มีผู้เข้าชมเทศกาลฯถึง 11,000 คน 


2005 – Einstein

ไอสไตน์ – ผู้ไม่เคยหยุดตั้งคำถาม

     ในปี พ.ศ. 2548 งานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ได้ริเริ่มจัดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรกโดยสถาบันเกอเธ่และสถาบันส่งเสริมการ      สอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ธีมของการจัดงานในปีแรกคือ “ไอสไตน์ – ผู้ไม่เคยหยุดตั้งคำถาม” มีผู้เข้าชมเทศกาลฯมากกว่า  5,000 คนในเขตกรุงเทพมหานคร



คลังภาพ
พิธีเปิดงานภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 15

พิธีเปิดงานภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 15

ประมวลภาพเทศกาลภาพยนตร์ครั้งที่ 14

ประมวลภาพเทศกาลภาพยนตร์ครั้งที่ 14

พิธีเปิดงานภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 14

พิธีเปิดงานภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 14

ประมวลภาพเทศกาลภาพยนตร์ครั้งที่ 13

ประมวลภาพเทศกาลภาพยนตร์ครั้งที่ 13

พิธีเปิดงานภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 13

พิธีเปิดงานภาพยนตร์วิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 13